Thursday, September 25, 2014

บทความตอนที่ 7. ทฤษฎีจุกก๊อก จอมป่วน เมื่อไม้ซีกทำลายไม้ซุงได้ไม่ยาก อย่าเป็นแบบนี้ครับ

สวัสดีครับ

     ไม่นานมานี้ จากการเฝ้ามองและสังเกตุสิ่งต่างๆ รอบตัว ได้พบเห็นปัญหามามากมาย และ ได้พบเห็นคนอื่นมีปัญหามามากมาย บังเอิญปีนี้ยังได้ ผ่านปัญหาใหญ่ๆ มาด้วยตนเอง เลยได้มีโอกาส ชะลอ ชีวิต จึงได้ มองเห็นสิ่งที่อยู่กับตัวเองมาแสนนาน แต่เรามองไม่เห็น ดังคำที่ผู้รู้กล่าวว่า

         มอง แต่ไม่เห็น
         ฟัง แต่ไม่ได้ยิน

     เลยได้คิด และสรุปออกมาเป็นแนวทาง ให้ผู้อ่านได้ อ่านกัน ลองนำไปต่อยอดนะครับ ผมไม่ถือว่าตัวเองเก่งอะไร แต่มีอะไรคิดว่าดี ก็เอามาเขียนให้อ่านกัน

     ทฤษฎีจุกก๊อก มีแนวคิดดังนี้

        ชีวิตคนเราส่วนมาก มีความสามารถในการทำสิ่งดีๆ สิ่งที่ยิ่งใหญ่กันทุกคน แต่ส่วนมาก จะมีความอ่อนแอทางอารมณ์ ซึ่งเป็นผลมาจาก นิสัยของการชอบหาเหตุผล การเรียกร้องความยุติธรรมมากจนเกินไป จริงๆ อาจจะไม่มากเกินไป แต่มันอาจจะเป็นธรรมชาติของคนเรา 

        เมื่อเราเสียอารมณ์กับอะไรบางอย่าง ง่ายๆ โลกนี้จึงวุ่นวายมากสำหรับเขา ขณะที่คนไม่คิดอะไรมากกลับเจริญเอาๆ นั่นเพราะเขาไม่ไปใส่ใจ เป็นอารมณ์ไปเสียทุกเรื่อง ข้อนี้เป็นไปได้ไหม

        ดังนั้น มันคือ สิ่งเล็กน้อย ที่มาปิดกั้น สิ่งที่ยิ่งใหญ่นั่นเอง เปรียบเสมือน จุกก๊อก ที่ปิดกั้นไม่ให้น้ำในถังใหญ่ ไหลออกมาได้ จะมีน้ำมากขนาดไหน เพียงเอาจุกก๊อกไปอุดไว้ มันก็จะถูกขังไว้ในถังจนวันตาย 

        ชีวิตคนก็เหมือนกัน ในแต่ละปี มีอัจฉริยะบุคคล คนดีๆ มากมาย เป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้านคน ที่ตายไปตามอายุขัยแบบคนสามัญ ทั้งๆ ที่มีความสามารถมีพรสวรรค์ นั่นเพราะ ตัวเขาไม่สามารถ ทำลายหรือ ถอดจุกก๊อก ของตัวเอง ออกไปจากถังความคิดของตัวเองได้ ทำให้ต้อง ตายไปอย่างน่าเสียดายไม่ได้ใช้สิ่งที่ดีงามในตัวให้เกิดประโยชน์กับ ประเทศชาติและสังคม ช่างน่าเสียดาย

เอ้า

กลับออกมาดูตัวอย่างในโลกจริง เช่นว่า

        เป็นไปได้ไหม ที่มีใครสักคน ที่เพิ่งตายไป เขาติดใจอยู่ 1 ประเด็นว่า สังคมไม่ยุติธรรมกับเขา และไม่เคยได้รับการส่งเสริมอะไรเลย จากหน้าที่การงาน และเขาก็คิดแบบนี้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเข้าสู่วัยชราภาพ โดยลืมให้น้ำหนัก กับ แนวคิด งานสร้างสรรค์ ที่เขาคิดไว้ได้นานแล้ว จนไม่ยอมเอามันออกมาจากความคิด และลงมือทำ อย่างมีสติปัญญา

        คุณอาจจะเป็นนายช่าง วิศวกร ในบริษัทยักษ์ หรือ ไม่ยักษ์ เพียงแต่คุณยังไม่ได้ ทำโครงการในฝันชองคุณ เพียงเพราะว่า  เจ้านาย ไม่เห็นหัวคุณ ไม่รับฟัง และ ไม่ๆๆๆๆๆ มากมาย คนทั่วไป จะโดนจุกก๊อกทางความคิดทันที คือ เมื่อไม่เห็นความสำคัญกัน ก็อย่าไปทำอะไรด้วยกันเลย แบบนี้

        แล้วคุณก็เริ่มโทษที่ทำงาน โทษตัวเอง และโทษไปหมดทุกสิ่ง ข้อนี้ เป็นธรรมชาติของคนครับ
แล้วเวลาก็ผ่านไป อย่างน่าเสียดาย จากวันเป็น ปี เป็นสิบๆปี แรงบันดาลใจของคุณก็หด สถานการณ์แวดล้อมก็ไม่ดีขึ้น สรุป ไม่มีใครชนะ

        หากสถานการณ์แบบนี้ ลามทุ่งไปมากๆ หากเกิดในหมู่บ้าน ก็จะุกลายเป็น หมู่บ้านแร้นแค้นทางความคิด หากเกิดในชาติ ก็จะเป็นชาติที่แร้นแค้นในทางความคิดเช่นกัน

    เหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ มีอยู่ทั่วไป แต่ไม่ใช่จบแบบแร้นแค้นเสมอ ยังมีคนสองกลุ่ม ที่ยัง รักษาโลกในทาง รุ่งเรืองไว้ได้ คือ
   
1.กลุ่มคนที่คิดได้
    คนกลุ่มนี้จะคิดได้เองว่า ใครขัดใจ ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ เป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะก็ยังมี คนที่ตามใจ ใส่ใจในโลก เขาเลือกที่จะมองโลกในแง่ดี ดังนั้น สนใจ ไม่สนใจเขา เขาก็ยังทำ สิ่งดีๆ ของเขาต่อไป โดยได้ทำในสิ่งที่รักนั่นเอง

2.กลุ่มคนที่ไม่คิดอะไรมาก
     ด้วยธรรมชาติที่ไม่คิดอะไรกับใครมาก ทำให้ใครจะอะไรกับเขา เขาไม่สนใจมากนัก แต่ยังทำตามฝันต่อไป

   แต่มันน่าเสียดายที่ คนอีกกลุ่มนั้น Sensitive หรืออ่อนไหวเกินไป อะไรมากระทบหน่อยก็จะมีปัญหา อึดอัดขัดใจ เปลืองพลังสมองไปหมด ทุกประเภทล่ะ ที่เป็นแบบนี้ จะทางดี ทางร้าย ก็ล้วนเสียพลังสมองทั้งนั้น จริงไหม

     ใช้สมองไปกับเรื่องที่เปลืองสมอง มีแต่ ขาดทุนเท่านั้น หากำไรยาก แล้วในโลกนี้ เราคุมสิ่งแวดล้อมได้หมดไหม ไม่มีทางครับ อย่าเพิ่งมองอะไรมาก คน ก็ร้อยพ่อพันแม่แล้วครับ ดังนั้น ถ้าเรายังคงเป็นแบบนี้ต่อไป ท่าจะไม่ดีครับ

     ต้องเปลี่ยน Change ครับ

   การแก้ไขปัญหาในเรื่อง ทฤษฎีจุกก๊อก มีดังนี้

1. เราจะอ่อนไหวไปกับปัญหามากมายในโลก อีกต่อไปนานไหม หากเป็นทั้งชีวิต เรากำไร หรือ ขาดทุน
    ควรคิดแบบนี้จนเกิดปัญญากันก่อน

2. อะไรคือเรื่องใหญ่ ที่บดบังตา ของเรา แต่เราอาจไม่รู้ตัว ควรละให้ได้ก่อน เพื่อสร้างความเบา ไม่มีภาระมาก ให้กับชีวิต เช่น ความทะยานอยาก อยากเป็นนั่น นี่ โน่น ตัดเลยครับ เลิก และปล่อยวาง โดย
ไม่อยากครับ คุณอาจพบว่า ชีวิตเบาและสงบมากขึ้น เพราะบางที เราทรงสภาพชีวิตตอนนี้ไว้ เพื่อ ความอยากของเรา จะได้เป็นจริงในอนาคต ว่าไหม

      แต่ตอนเด็กๆ เรามีความสุขมากมาย ไม่เห็นต้องตั้งมาจากความอยากนี่ ความสนุกกับความอยากคนละเรื่องกันนะ แต่ อ่านให้จบครับ

       เราไม่ได้บอกว่า ไม่ให้มีฝัน ไม่ให้ทำงาน ไม่ให้ดิ้นรนนะครับ แต่เป็นการ มีชีวิตแบบ รักที่จะทำครับ
ไม่ใช่ ทำเพราะอยาก คือคุณยังทำเรื่องเดิมได้เหมือนเดิม 100% แต่เพราะรักที่จะทำ สมัครใจทำ ไม่ใช่อยากครับ ทำได้ไหม คือ

       กระบวนการเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่เปลี่ยนเพียงวิธีคิดครับ

        รวมๆ แล้วก็คือ ฉันทะ นั่นเอง

3. จงเอากระดาษมาหนึ่งแผ่น แล้วเขียนลงไปว่า ณ.วันนี้ มีอะไรในโลกบ้างที่สำคัญ สำหรับชีวิตคุณ

     เช่น  อาชีพการงาน, การเงิน, สุขภาพ, ความถนัด, งานอดิเรก, ผู้คน, ครอบครัว, คนรัก, สังคมบนเน็ต และอื่นๆ อีกมากมาย

 เขียนไป ก็วงกลมรอบ สิ่งเหล่านั้นครับ แล้วลองนับดูว่ามีกี่วง จากนั้น ให้เราทำแบบนี้

       -แยกวงที่กำลังเป็นปัญหา วุ่นวาย หรือ เราไม่ชอบ ออกมากลุ่มหนึ่ง
       -แยกวงที่เราชอบ พอใจออกมากลุ่มหนึ่ง
       -หากคุณละเอียดมากก็แยกกลุ่มที่กลางๆ ออกมาอีกกลุ่มยังได้

      เราจะพบว่า  พอได้ 3 กลุ่มแล้ว หากมองดีๆ เราจะพบว่า

       1.ชีวิตมีสิ่งให้ ทำ สัมผัสหลายแง่มุม ตามจำนวนวง ที่เรามี ในทุกกลุ่ม
       2. กลุ่มที่เป็นปัญหา ไม่ค่อยชอบ ก็เป็นกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
       3. มีกลุ่ม ที่ดีๆ เราชอบ และ กลุ่มที่เฉยๆ รวมแล้วอีก 2 กลุ่ม

   ทบทวนให้เห็นตามนี้ จากนั้น ให้คิดต่อว่า

     เราก็มีปัญญา เราจะปล่อยให้วงกลมสิ่งต่างๆ ในกลุ่มที่เราไม่ชอบ มาบดบัง หยุดยั้ง ทำลายชีวิตของเราที่เหลือทั้งหมดหรือ  มันสมเหตุสมผลไหม?  จริงไหมครับ

      แล้วลองถามต่อไปว่า ใครมาห้ามคุณไม่ให้ มีความสุขในกลุ่มที่คุณชอบ หรือ เฉยๆ ในกลุ่มที่คุณเฉยๆล่ะ ไม่มีใครนะครับ แต่เป็นตัวเราเองครับ ที่ ความทุกข์ได้บดบังดวงตา และหัวใจของเรา ดังนั้น
จงคิดต่อไปอีกว่า

       กลุ่มที่เราไม่ชอบไม่พอใจ มันคงแก้กันยากหน่อย ก็ประคอง พยุงไป ตามความเป็นจริง ตามกำลังความสามารถ

       กลุ่มที่ดีๆ เราชอบก็ทำไปสิครับ จะหยุดทำไม ทำให้ดี รักษาไว้ และ พัฒนาขึ้น ตามความเหมาะสม อะไรที่ดีๆ ทำให้มากๆ อะไรไปทางสุขเกินก็ระวัง เดี๋ยวจะกลายเป็นทุกข์เสียแทน คือ สุขแบบระวัง สุขแบบดูแล

       กลุ่มเฉยๆ มีก็ดี ไม่มีก็ได้ หากเห็นว่า กรอบเวลามีไม่มาก อะไรลดได้ก็ลด เอาเวลามา ประคองกลุ่มที่ทุกข์ และ สร้างเสริมกลุ่มที่สุขไม่ดีกว่าหรือ

    คิดแบบนี้ดีอย่างไร ข้อดีก็คือ ในยามที่เราทุกข์ มีปัญหา หากเราทำลายความสุข หยุดไปหมดเลย เท่ากับเราหยุด พัฒนาตัวเอง ดองตัวเองในความทุกข์ และดึงตัวเองให้อยู่ในความหม่นหมองมากเกินไปครับ ดังนั้น ต้องแยกให้ออกก่อนว่่า เราทุกข์อะไร ปัญหาอยู่ตรงไหน และ ยังต้องประคองรักษาส่วนที่ดีไว้ไม่ให้สูญหาย จริงไหม

       เพราะความทุกข์พอมันผ่านไป เราก็จะพร้อมสุขต่อ ไม่ใช่พอทุกข์หายไป เรากลายเป็นคน อมทุกข์ไปเสียแล้ว เพราะทิ้งสุขไปเสียหมดนั่นเอง

       การที่เราละเว้นทำเรื่องดีๆ ไปหมด ยามเมื่อเจอปัญหา  เล็กใหญ่ จึงเปรียบเสมือน การใช้จุกก๊อกมาอุดไม่ให้น้ำไหล น้ำเมื่อไม่ไหลก็จะเป็นน้ำที่เสีย ไม่สดใส สังเกตุกันไหม น้ำในลำธาร น้ำตกจะใส เพราะมีการไหลอยู่ตลอดเวลา

       ฉันใดก็ฉันนั้นแล คนเราทุกข์กันได้ครับ แต่อย่าหยุดทำสิ่งดีๆ ที่เหลืออยู่ จงทำอย่างสบายใจ อย่าไปคิดมาก เพราะมันเป็นไปได้หรือ ที่ทุกข์วงจะมีแต่ความทุกข์ ขณะเดียวกัน ทุกวงจะสุขตลอดเวลาทำได้ไหม อาจทำได้โดย การประคองวงที่มีทุกข์ ให้ทุกข์น้อยลงๆ ขณะที่สร้างเสริมดูแลวงแห่งความสุขไว้ไม่ให้เสื่อมถอย แบบนี้ครับ

      ดังนั้น จะอยู่บ้าน จะออกนอกบ้าน แม้นเจอปัญหาเดิมๆ ก็ให้คิดว่า นี่เป็น วงหรือภาคทุกข์ ที่ยังแก้ไม่ได้ ได้น้อย วงนี้เรารู้แล้ว แต่ตัวเราไม่ใช่ทั้งหมดของวงนี้ ยังมีอีกเป็น สิบๆ วงกลม ที่ประกอบกันเป็นตัวเรา เราก็เข้าไปอยู่ในวงความสุขสิครับ เป็นเทคนิคไม่ยาก

      แต่หากเราเจอวงความทุกข์  แล้วคิดเหมือนเคยว่า วงความทุกข์นี้คือตัวเรา เราก็แย่นะครับ คือ เราจะทุกข์ 100 % แต่หากคิดว่า มันคือ 1 ใน 10 วงของชีวิตเรา เราจะทุกข์เพียง 10% เท่านั้น และหากคิดได้จริงๆ เช่น เจอเรื่องไม่ชอบอีกแล้ว เมื่อก่อนเราทุกข์มาก คิดแบบ 1 ใน 10 ทุกข์หายไป ตอนที่เจอเราก็ไปคิดเรื่องที่เราสุข ปรากฎมีหลายวงเลย มันไม่มีทางทุกข์มากไปได้ครับ พอทำได้บ่อยๆ เราจะเห็นว่า เรามีความสุขมากขึ้นๆ ทำไม

     เพราะว่า ทุกข์ ไม่สามารถให้ผลแรงได้ตลอดเวลา มันต้องอาศัย เวลา และผลการชดใช้ หากจะมองแบบกฎแห่งกรรม ทุกครั้งที่เกิดทุกข์ในเรื่องใดๆ กรรมจะลดไปตามวันเวลาที่เราชดใช้ ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้า กรรมจะกลับมากระทำเองไม่ได้ครับ นี่คือเทคนิคง่ายๆ

       กรรมไม่ดีบางคนสั้นๆ แต่ดันไปคิดสั้น กรรมไม่ดีบางคนยาวแต่สู้มาอีกหน่อย ก็ผ่าน

     กรรมดี ชั่ว ส่งผลแล้ว จะมาย้ำใหม่ไม่ได้ ครับ แล้วแล้วกัน จริงไหม

     หาวงกลมแห่งความสุขของคุณให้พบ ใครก็แย่งไปจากคุณไม่ได้ เพราะมันคือ กรรมดี ที่ส่งผลให้กับคุณ ภายใต้กฏแห่งกรรม ไม่มีใครมีอำนาจมาขัดขืนได้ นี่เข้าข้อ สัมมาวายาโม ชัดๆ ข้อ 6. ในมรรคมีองค์ 8 ของพระพุทธเจ้าครับ

     เราต้องระลึกรู้ ไม่ใช่เอาใจไปจ่อแต่ในเรื่อง อกุศลกรรม ซึ่งเราหนีไม่ได้เช่นกัน แต่เราเลือก จดจ่่อได้นี่ครับ จริงไหม จดจ่อแล้วคิดแก้ไข ยังบรรเทาเบาบางกรรมได้อีก เช่นทำดีมากๆ ทำให้ผลกรรมไม่ดีลดลงแบบนี้ ก็เข้า ข้อสัมมาวายาโมเช่นเดิม คือ

        ให้ลด หยุด อกุศลกรรม และป้องกันไม่ใช้อกุศลกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอีก แบบนี้

    เมื่อมีหลักฐานเป็นคำสอน แสดงว่า ย่อมทำได้ครับ ให้เราทำดังที่กล่าวมาข้างต้น

โดยสรุปก็คือ

    มีจิตเบาสบาย ใส่ใจในวงกลมแห่งความสุข ขณะที่ประคองวงกลมแห่งทุกข์ โดยค่อยๆ เจือจางความทุกข์ลงด้วยความดี หรือ กุศล ที่เราตั้งใจทำอย่างหมั่นเพียร 

(หากทำไม่ได้ ก็เหมือนคุณเอาจุกก๊อกมาอุดถังน้ำแห่งชีวิตของคุณไว้ ช่างน่าเสียดาย จริงไหม?)

           ซึ่งก็จะเข้ากับหลักคำสอนที่ว่า

       คนเราจะล่วงทุกข์ ได้ด้วยความเพียร

นี่ล่ะ ความมหัศจรรย์ของ พระพุทธศาสนา ที่คำสอน สอดคล้องกันไปหมดครับ อย่างงดงามอีกด้วย

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)
ปล.อ่านบทความของตัวเอง ก็ได้ความคิดใหม่ว่า การเลือกไปอยู่กับวงกลมแห่งความสุข ก็คล้ายๆ กับการเข้าไปอยู่ในองค์ ฌาน ขณะที่ ทำให้นึกไปถึงคำว่า พรหมวิหาร 4 คือเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา แล้วยังย้อนกลับมาได้อีกว่า การได้ฌาน ก็ต้องผ่าน วิตก วิจาร ปิติ สุข และ อุเบกขา ซึ่ง เข้ากับตัวสุดท้ายของ พรหมวิหาร 4 พอดีเลยคือ ข้ออุเบกขา นั่นเอง ธรรมะ คือ สัจจะ เป็นหนึ่งเดียวจริงๆ คือ หากยังคิดอยู่ในร่องในรอย มันจะกลับมาเข้าทิศทางเดิม อยู่ดี จริงๆ ด้วย สาธุ สาธุ สาธุ :0)

No comments:

Post a Comment