Monday, February 23, 2015

บทความที่ 16: วิธีรับมือปีชง แบบชาวพุทธ :0)

สวัสดีครับ

    ไม่ทันไร ตรุษจีนก็ผ่านไปอีกปีแล้ว มีข้อสังเกต เล่นๆ ว่า ปีใดผมกลับไปร่วมงาน อะไรๆ ก็ดีขึ้นเช่น การเงิน ทั้งๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจ แต่ปีไหนไม่กลับ ก็งั้นๆ อย่างไรก็เป็นการแสดงความเคารพบรรพบุรุษครับ ไปร่วมงานได้ ก็สมควรไป เรื่องอื่นถ้าใช่ เขาก็มาเอง

     ตรุษจีนมาพร้อมกับความเชื่อ ทางโหราศาสตร์อีกด้วย ซึ่ง จริงหรือหลอก เราก็ไม่รู้ มาพร้อมกับคำว่า ปีชง คนที่เกิดนักษัตรอะไร และ ในปีในเป็นปีชง เขานับจากอะไร ก็ตรงช่วง ฉลองปีใหม่ตรุษจีนนี่ล่ะครับ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ผมเคยอ่านตำราฮวงจุ้ย มาแบบผิวเผิน พอทราบว่า ส่วนมาก คนจีน เขาจะเปลี่ยนปีกันช่วง วันที่ 3,4 หรือ 5 กุมภาพันธ์ นี่ล่ะ เอาเป็นว่าก็ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ของบ้านเราครับ

      ดังนั้น ใครเชื่อปีชง แต่อย่าไปงมงายนะครับ พอเข้าตรุษจีน ปีใหม่ ก็มีเฮ ทำไมน่ะหรือ ก็ปีชง ผ่านไปแล้วไงครับ อะไรๆ สำหรับคนที่เชื่อเรื่องพวกนี้ ก็คงจะดีขึ้น จริงไหม คนที่ไม่เชื่อ เขาคงไม่สนใจหรอก เพราะ ดีหรือร้าย ฉันก็ผ่านของฉันมา

      แต่สำหรับคนที่เป็นปีชง พอตรุษจีนเข้ามา เขาอาจจะโล่งใจกันมาก เพราะ สิ่งไม่ดีได้ผ่านไปแล้ว ทีนี้มันก็เกิดเรื่องราวให้คนได้ สนใจกัน เช่น เมื่อสัปดาห์ก่อน มีข่าว พระเอกดังควบมอเตอรไซต์ ประสบอุบัติเหตุ พอดี ในวันแรกของปีชง เสียด้วย อะไรแบบนี้ และ มีติดๆ กัน อีก 2-3 วัน แถมบางคน ชงก่อนปีใหม่คือ เกิดก่อนแค่สัปดาห์เดียวก่อนปีใหม่ แบบนี้

        ข่าวสารแนวนี้ทำให้ กระแสปีชงกลับมาเป็นที่สนใจของคนไทยจนได้ คุณว่าไหม ชงหรือไม่ชง มีจริงไหม สำหรับชาวพุทธ พระท่านว่า

         เวลาไหนที่เราทำสิ่งอันเป็นกุศล เป็นมงคล ขณะนั้นเรียกว่า เวลาดี ฤกษ์ดี ชั่วขณะดี 

ท่านว่าไว้แนวๆ นี้

...ผมดัดแปลงมาพูดนะครับ ลองไปหาฉบับจริงมาอ่านกันเอง ต้องบอก เพราะเดี๋ยวพูดไม่ถูก ไม่ครบ จะกลายเป็น ตู่พระพุทธพจน์อีก ตกนรกครับ ไม่เอาๆ ไม่ครบ ไม่ชัวร์ ต้องบอกกันไว้ล่วงหน้าครับ

        ข้อสังเกต สำหรับคนที่ผ่านปีชง บางคนที่เขาเล่ากันมา นะครับ

     คนพวกนี้เขาไม่ได้เชื่ออะไรปีชงเลย แต่ปีที่มันส่งผลไม่ดี เขามีข้อสังเกตุดังนี้ครับ

 1.เริ่มจาก ช่วงปีก่อนหน้า อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ สักหนึ่ง หรือ สองอย่าง และดูเหมือนไม่มีอะไร
 2.พอเข้าปีใหม่จีน บางคนอาจไม่เห็นว่ามีอะไร แต่ บางคน ก็เกิดเหตุใหญ่ๆ ขึ้นมาอีก
  3. เกิดทีแรก ดังข้อ 2. พอผ่าน จะทำให้เราประมาทครับ และคิดว่าไม่มีอะไร
  4. แล้วอาจมีเรื่องให้เราจิตใจขุ่นมัวมากๆ เพลียมาก จนไม่มีสมาธิ สติกับตัวเอง
  5. แล้วมันก็ โชะเลยครับ มาแรงๆ หนักๆ สมกับปีชงครับ

     คือมีการสับขาหลอก แล้ว ยิงประตูตอนเผลอ!!!

  หากมองดีๆ แล้วเชื่อมโยงเข้ากับเรื่อง กรรม ทั้งดี และ เลว เราจะพบว่า ไอ้ตอนยิงประตู หลังจากสับขาหลอกนี่ล่ะ สำคัญ เพราะมันมี เส้นทางของ

                ใจขุ่นมัว อ่อนเพลีย ทำให้ กระแส โลภ โกรธ หลง ทั้งหมด หรือ อย่างใดอย่างหนึ่งมันแรง แล้วไอ้ตัวที่แรงมันก็เหมือน เป็น กุญแจประตูบานใหญ่ๆ ที่ กรรมไม่ดีในอดีต หรือ ปัจจุบัน ที่แรงๆ มันรออยู่ มันไขก็อกและปล่อยแรงดันเต็มๆ มาใส่เราได้

              จากธรรมชาติของกฎแห่งกรรม ที่ผมพอศึกษามาบ้าง ผมมีแนวคิดว่า หากเรา ใจผ่องใส และ มีสติ มีสมาธิ อะไรก็ผ่านได้ครับ คือ เอากุญแจบ้าๆ ความขุ่นมัว โยนทิ้งไปครับ ประตูที่เหมือน ประตูน้ำของเขื่อน กรรมไม่ดี มันจะได้ เปิดได้ไม่มาก เปิดแต่ช่องเล็กๆ ไม่ใช่มาไขก็อก แล้วเทใส่เต็มๆ ช่วงปีชง

              คุณว่า คนที่เพิ่งผ่านเรื่องแรงๆ แบบปีชง ที่คิดว่าแรงแล้ว ย่อมประมาทใช่ไหมครับ แต่จริงๆ แล้ว มันอาจสับขาหลอก ดังนั้น ต้องไม่ประมาทครับ มีสติ มีสมาธิเสมอ และอย่าปล่อยให้ใจ ห้อยครับ
หรือ ชื่อเหมือนคอลัมน์ใน นิตยสารคู่สร้าง คู่สมที่ว่า ผัวเมียละเหี่ยใจ ไม้เอกนะครับ สะกดดีๆ ฮ่ะๆๆๆ

  อย่าให้ใจเรามัน ห้อย ละเหี่ย ขุ่นมัว ขณะจะทำกิจกรรมใดๆ อาจจะ ขุ่นๆ มึนมัวในที่ปลอดภัย นิดๆ หน่อยๆ ได้ แต่พอจะเริ่มทำกิจกรรมใดๆ ให้ปรับใจทันทีครับ ให้ดีขึ้น สดใสขึ้น

        วิธีปรับจิตใจตำรับพระญาณสังวร พระสังฆราช ผมขออัญเชิญมาไว้ ณ. ที่นี้ 2 ข้อคือ

1. ท่านให้ คิดดี พูดดี และ ทำดี ครับ
 2. ให้ภาวนา พุทโธๆๆ ไว้ตลอดเวลา เป็นพุทธานุสติ มีพลานุภาพมากๆ

   ฉุกเฉิน ก็พุทโธๆๆๆ ไปเรื่อยๆ ครับ

  มันแปลกว่า จิตใจมันฟื้นกลับคืนดี ในทันทีครับ ไม่เชื่อให้ลองดู คนที่ใจหดหู่บ่อยๆ ในช่วงที่กำลัง ซวยๆ ให้ท่องพุทโธๆ ตามลมหายใจเข้าออกครับ ชีวิตดีขึ้นจริงๆ มันเห็นผลช่วง ที่ซวยๆ แบบทันตานี่ล่ะ ช่วง มีความสุขเราก็พอสดชื่น ไม่รู้สึกดีขนาดนี้ ไม่เชื่อลองครับ (ขออภัย ซวย เป็นคำหยาบไม่หน่อยจ้า :0) )

    ปีชง จะมีจริง หรือ ไม่จริง เราไม่รู้ แต่ พุทธพจน์นั้นเป็นคำจริงเสมอ ครับ

ขอให้ทุกท่านมีความสุขในปีใหม่จีน ครับผม

สวัสดีครับ

No comments:

Post a Comment