Monday, January 19, 2015

บทความตอนที่ 13: พลังของสมาธิ กับ การใช้ชีวิต

สวัสดีครับ

       เมื่อเรามีการฝึกสมาธิ จะมีสิ่งใดเกิดกับเราบ้าง
ควรปฏิบัติโดยใช้เวลา และ จำนวนครั้งที่มากพอ ถ้าสามารถทำทุกวันจะดีมาก โดยควรกระทำ
ต่อเนื่อง ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป หรือมากกว่านั้น โดยไม่ต้องรีบ ไม่มีความอยาก หากจะพอระลึกบ้าง
ก็ควรจะ ทำสมาธิเพื่อสั่งสม บุญบารมี ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เป็นต้น

1. สมาธิจะทำให้เรา รู้ขอบเขต จะกลายเป็นคนไม่ ตึงเกิน หรือ หย่อนเกิน
2. จะทำให้พบข้อดี ข้อเสีย ของตนเอง ยิ่งขอเสีย จะสังเกต ขึ้นมาเฉยๆ นั่นเพราะ
       มีตัว สติ ที่มากขึ้น และช่วยให้เรา ระลึกได้ และ เริ่มคิดลด สิ่งที่ เสียๆ นั้นออกไปจากตัว
    ของเรา เช่น
            -คนที่ห้องรก จะเริ่มจัดห้อง
            -คนที่ ชอบเบื่อเซ็ง ก็จะดีขึ้น
            -จะเป็นเหมือน น้ำทิพย์ ชโลมใจ ทำให้เริ่มลงมือทำ สิ่งดีๆ ให้กับตัว ในด้านต่างๆ

3. ผู้คนจะดีกับเรา ร้ายมาก จะ ดีขึ้น เฉยๆ จะดีมาก คือ เปลี่ยน เวรกรรม ปัจจุบันได้ ในเรื่องแบบนี้
     จากที่สังเกตมากับตัว การปฏิสัมพันธ์กับคน จะลื่นขึ้น สบายขึ้น แต่ ควรมี หลัก อุเบกขา รองรับด้วย
   คือ เราก็มีกรรมของเรา เขาก็มีกรรมของเขา  สัตว์ทั้งหลายล้วนมีกรรมของตัวเอง  ท่องไว้ครับ คนที่
อารมณ์ร้อน โกรธคนง่าย ท่องไว้ จะลื่นมากๆ ในการพบปะกับคน เนื่องจากสมาธินั้น คนที่ทำใหม่ๆ แม้จะเก่าๆ ก็จะทำให้ใจเรา ไวขึ้นสำหรับบางคน กลายเป็น โกรธไว ไปก็มีครับ


4. คนทำสมาธิ ต้องมีเมตตาธรรม แนะนำ ให้เจริญ พรหมวิหาร 4 ไปด้วย ครับ จะได้ คุมไว้แต่ต้น ขอให้เรามี เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา คุมจิตใจไว้ ตั้งใจว่า จะทำให้ดีที่สุด ไม่ทิ้ง พรหมวิหาร 4 รับรอง ไม่มีการฟุ้งเฟ้อ หรือกลายเป็นคน จิตไว เพราะ มันมีพื้นฐาน มาจาก ก่อนจะทำอะไร มีเมตตา มี กรุณา มีมุฑิตา มีอุเบกขา แล้วหรือยัง  พอสติคิดได้ เราก็จะหยุด และ ไม่กระทำอะไร รุนแรง

    ทำไมคนทำสมาธิต้องมี พรหมวิหาร 4 นั่นเพราะ พอคุณ โลภ โกรธ หลง แรงๆ เข้าที่ มันจะเกิดคำถาม ทำไมทำสมาธิแล้วยังมีเรืองแบบนี้ แรงๆ  หากเป็นกรรมของเราจะต้องเจอ แบบนี้ทำอย่างไรได้ครับ เจอก็ต้องเจอ แต่ หลายๆ ครั้งในช่วงแรก หากเราเอา พรหมวิหาร 4 มาจับ หนักจะกลายเป็นเบา ทุกอย่างจะลดลงไปมาก เราก็จะได้ ไม่มีข้อ ฟุ้งซ่าน สงสัย ทำให้องค์สมาธิเสีย คือ นิวรณ์ นั่นเอง

     มีผู้คนมากมาย ที่รู้กันว่า รู้จักธรรมะดีๆ แต่ ผมไปอ่านเจอใน ส่วนของทางวิปัสนา จะมีปัญญาแบ่งออกไปหลายแบบ เช่น ปัญญาจาการฟัง ปัญญาจากการคิดนึกเอา และ ปัญญาจากการรู้แล้วเข้าใจจริงๆ ยกตัวอย่าง เรามีปัญญาเรื่อง พรหมวิหาร 4 ปกติเราจะคิดว่าเรารู้แล้ว ก็จบ รู้มากกว่าคนอื่นแล้ว มีธรรมะแล้ว
แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ นะครับ

        คือ มันอาจเป็นพรหมวิหาร 4 จากการฟังเขามา
              มันอาจเป็นพรหมวิหาร 4 แบบนึกคิดว่า แบบนั้นแบบนี้ หรือ หลงคิดว่า เราทำครบ ทำถูกแล้ว
               มันอาจเป็นปัญญาแท้ๆ คือ เข้าใจ และ ทำพรหมวิหาร 4 จริง

   หากจะให้เห็นภาพก็   เราฟังวิธีเลี้ยงลูกด้วยความรัก เราแค่รู้ ต่อมา เราเลี้ยงลูกของเราจริงๆ เราเชื่อว่า เรารักลูกมากแล้ว ทำครบตามหลักวิชา  แต่ปัญญาสุดท้ายคือ ความรักของแม่ ที่ แม่ทั่วโลกลึกซึ้งต่างกันและเขาก็อาจเลี้ยงลูกได้ดีกว่าเราแบบนี้ คือ ของเขาแท้กว่า ดีกว่าแบบนี้

  การศึกษาธรรมะจึงควรทำให้ได้จริงๆ ครับ ทำจนเป็นนิสัย นั่นล่ะผมว่านะ นานปีเข้าทำได้จริงมันเป็นนิสัยได้จริงๆ นะครับ นี่ล่ะที่คนเลิกปฏิบัติธรรมไป หลายคน เพราะ ใช้ธรรมะครบแล้ว แต่ มันไม่ได้ใช้จริงๆ สักข้อนั่นเอง...

      บางคนยิ่งทำสมาธิ ยิ่งดี บางคนไม่เป็นแบบนั้น เหมือน มีมารมาขวาง ต้องแก้ด้วย 2 ข้อคือ

        1. กัดไม่ปล่อย   บอกแล้วว่า อุเบกขา คือ เราก็มีกรรมของเรา   เขาก็มีกรรมของเขา สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง   เราตามทันรู้ทัน จะปฏิบัติสมาธิ อย่างตั้งใจ (ไม่เครียด ไม่อยาก ทำตามคำพระท่านสอนพอ) หากจะได้ มันได้เอง หากไม่ได้อะไรเลยจนตาย ก็ยังได้ อานิสงส์ จากการบำเพ็ญสมาธิ ล่ะ ไม่มีอะไรที่ทำเสียไปเปล่าๆ  เอาเป็นว่า ไม่เลิกปฏิบัติสมาธิ ตลอดชีวิต ทำให้ถูกแบบแผน ตามปรากฎในพระไตรปิฏก เป็นพอ มีครูแนะนำ ที่ถูกต้อง ยิ่งดี หากเป็น สมถภาวนา มี 40 กอง หรือ วิธี ในการทำสมาธิ ก็หาที่ถูกจริตกับตัว อย่างผม ใช้ อานาปานสติ แบบอื่นๆ เช่น การเจริญ อุเบกขา นี่ก็ใช่ และอื่นๆ อีกมากมาย
เพียงแต่ว่า ท่านว่า ยังแยกออกไป เป็น ชนิดที่ทำแล้วได้ ฌาน 4 กับ ไม่ได้ ก็มีครับ อ่านศึกษากันดีๆ บางคนเน้นไปทาง วิปัสนา อันนี้ ใช้ฌาน 1 หรือ ไม่ใช้ยังได้ แบบนี้ ลองศึกษากันดูครับ

         2. มีพรหมวิหาร 4

เอ้าแถมอีกข้อ

          3. จงคิดดี พูดดี และ ทำดี

    สมเด็จพระสังฆราช พระญาณสังวร ท่านตรัสว่า หากทำข้อ 3. ได้ดี จะทำให้พ้น บาปกรรม ที่ตามจะเอาคืนจากเราได้ในชาติปัจจุบัน ขณะที่เราจะ คิดดี พูดดี ทำดี เป็นนิสัย ผมเอามาจาก หนังสือเล่มเล็กๆ "ชีวิตนี้สั้นนัก" ที่ท่านทรงนิพนธ์เอาไว้ หรือในเล่มเดียวกัน การบริกรรม พุทโธๆๆ ตลอดเวลา ก็ช่วยได้ จากหนักเป็นเบา

     แน่ล่ะ การจะทำแบบนั้นได้ ก็ควรสร้างมงคลให้ชีวิต ดังนั้น เราควร ศึกษาว่า มงคล 38 ประการนั้นทำอย่างไร อีกด้วย

  จำไว้นะครับ คนที่เก่งทางเหตุผลมากๆ คิดลึกๆ นี่ ข้อ 3. คิดดี พูดดี ทำดี นี่ ทำได้ยากนะครับ เพราะเรามันพวกช่างคิด ทำให้ บางที คิดเยอะ จน คิดดี เป็น คิดเกินดีไป ระวัง แต่หากทำได้ ชีวิต เปลี่ยน ทันที

   
         5.โชคเล็กใหญ่ จะถูกดึงดูดเข้าหาตัว ให้ทำสมาธิ สม่ำเสมอ จะดี จะร้าย มีสมาธิเป็นเพื่อน คุณจะเห็นเอง

         6. สมาธิ ทำให้สุขภาพดีขึ้น เรามักจะ หายใจเข้า ลึกไปถึงใต้สะดือ หายใจลึกๆ ช้าๆ บางคนมารู้ตัวว่าหายใจไม่เต็มปอด มาตลอดชีวิต จากสมาธินี่เอง ในทางสมาธิแบบสมถภาวนา อาจก่อให้เกิด องค์สมาธิ ฌาน อภิญญา กับคนที่ปฏิบัติถูกทาง เอาชนะนิวรณ์ได้ และ ในทาง วิปัสนา ยังอาจทำให้เราเข้าสู่เขตนิพพานอีกด้วย แล้วแต่จะปฏิบัติ แบบ สมถภาวนา หรือ วิปัสนภาวนา

       อย่างไรก็ตาม หากเราศึกษาเรื่อง การรักษาด้วยลมปราณ หรือ การฝึกพลังลมปราณ เราจะพบว่า มีเรื่องของ จักระ เข้ามาช่วยอธิบาย ว่าทำไมทำสมาธิแล้ว แข็งแรง นั่นเพราะ มีจักระอย่างน้อย 2 ดวงที่เกี่ยข้อง นั่นคือ

          1.จักรสะดือ   2. จักรม้าม

คำเตือน:

     ห้ามเอาไปฝึกตรงๆ โดยคิดประจุพลังปราณ ไปยังจักรใดจักรหนึ่ง ที่ผมยกตัวอย่างมา โดยไม่ได้ทำสมาธิ แล้วเดินปราณ ตามที่ตัวเองคิด อย่าเด็ดขาดนะครับ รวมทั้งการฝึกชำระล้างและประจุพลังในจักระ ตัวอื่นๆ ด้วย ถ้าเป็นตำราที่โอเค มีอาจารย์น่าเชื่อถือ ก็โอเค แต่หากไปอ่านในเว็บมา หาที่มาไม่ได้ อย่าไปฝึกเองเด็ดขาดนะครับ
       ในสายของ พลังปราณ เชื่อกันว่า ปราณ จะฟังจิตของเรา ดังนั้น หากเราไปคิดฝึกตรงๆ ต้องมีครู ที่รู้เรื่องนี้ครับ แต่การทำสมาธิเราไม่ได้คิดถึงปราณเราคิดถึงเรื่อง สมาธิเช่นกำหนดตามลมหายใจ แบบนี้ เราไม่ได้ไปสั่งปราณตรงๆ ไม่เกี่ยวกัน เป็น ภาษาที่ทางธรรมเรียกว่า วิตก วิจาร คือ เครื่องมือยกจิตเข้าสู่สมาธิ  และยังประคองสมาธิไว้ได้ แบบนี้ เพียงแต่พอทำไปนานๆ ปราณมันจัดการของมันเอง เท่านั้น

        ทางพุทธเราไม่ได้เน้นเรื่องปราณ ฝึกพลัง แต่ทางอินเดีย จีน เขาจะมีฝึกโดยตรงครับ ดังพระท่านว่า ท่านสอนเราเพียงใบไม้หยิบมือเดียว ที่พาให้บรรลุธรรม ได้นิพพานได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องสอนเรื่องพลังปราณ นั่นเอง

       ตามที่ผมพอศึกษามาบ้าง จะพบว่า การฝึกปราณของทางอินเดีย เขาต้องทำสมาธิ นำก่อนนะครับ ดังนั้น จะยังไงต้องมีสมาธินำก่อนเสมอ 

                 ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


      โดยปกติ จักระ 2 ตัวนี้ จะทำงานด้วยกันโดยอัตโนมัติ นั่นคือ จักรสะดือ ดี จักรม้ามจะดีด้วย โดยจักรสะดือ เป็นตัวรวบรวมปราณ และส่งต่อให้จักรม้าม เป็นตัวย่อยพลัง แล้วกระจาย ต่อไปยัง ยังจักระหลักๆ ที่เหลือจนครบ ดังนั้น จักรใดพลังเสื่อม ไม่สมบูรณ์ ก็ได้รับการชำระล้างไปในตัว ขณะทำสมาธิ เพราะเราทำกัน นานเช่น 30 - 60 นาที นั่นเอง

       เรื่องนี้ไม่มีการเชื่อมโยงกัน แต่ผม ศึกษามาพอสมควรก็เห็นว่า จุดนี้เชื่อมโยง การทำสมาธิเข้ากับการฝึกลมปราณได้ อย่างลงตัว

       ขอสังเกตุ: เรื่องจักระ และ ลมปราณ มีอยู่ทั่วโลก จักระหลักๆ ก็คล้ายกัน เกือบจะเหมือนกันด้วยซ้ำ ทีแรกผมคิดว่า มีแค่ในอินเดีย ที่ไหนได้ อียิปต์ก็มี และทีอื่นๆ ขนาดว่า เขาคิดว่า หินปิระมิดก้อนใหญ่ ที่ยกขึ้นไว้บนที่สูงๆ ได้นั้น มาจากพลังลมปราณนี่เอง ลองหาอ่านกันครับ อันนี้่อ่านผ่านๆ ตา

        นักกีฬาก็เช่นกัน เขาอาจจะไม่ได้เจตนา หายใจเข้าลึกไปถึงสะดือ แต่ การหายใจในการกีฬา สังเกตดีๆ มันก็หายใจเต็มปอดนั่นล่ะ มันก็คล้ายๆ กัน ยังไง จักรสะดือต้องได้รับปราณ แน่นอน

  และยังมี ประโยชน์อีกมากหลาย ต้องทำเองจึงจะทราบครับ

     อ้อ แถมอีกข้อ

     7. คนที่ได้ สมาธิขั้นต้นๆ เช่น อุปจราสมาธิ ก็ยังพบว่า มันไม่ใช่สุข แบบที่เราเคยเห็นในโลก นี่ยังห่างจากฌานตั้งเยอะนะครับ แล้วก็เข้าสู่โลกของฌาน ในระดับ อัปปมาสมาธิ ล่ะ มันจะขนาดไหน โลกที่คุณสงบเย็น เห็น วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา โลกนี้มีอะไรให้ค้นหาอีกเพียบ ไม่ลองมาค้นหากันบ้างหรือครับ :0)  ยิ่งฌานสูงขึ้นไป จะยิ่งละเอียดขนาดไหนแบบนี้ อย่างไรก็ตาม เป็นชาวพุทธ ก็ต้องไม่ลืม
วิปัสนานะครับ เพราะ นิพพาน คือ สุขที่แท้จริง ครับ ลองต่อยอดกันเองครับ

 เอาล่ะวันนี้เท่านี้กันก่อน

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)


   

       
     


No comments:

Post a Comment